วิธีและแนวทางในการเลือกชุดสำหรัสวมใส่ทำงาน
การเลือกชุดสวมใส่ทำงานในกลุ่มงานอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลัก โดยควรเลือกชุดที่สวมใส่สบาย เคลื่อนไหวสะดวก ไม่เกะกะ และสามารถป้องกันอันตรายจากการทำงานได้ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ลักษณะงาน ประเภทของงานที่ทำนั้น มีความเสี่ยงอันตรายอย่างไรบ้าง เช่น งานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี งานที่ต้องทำงานในที่สูง งานที่ต้องทำงานกับความร้อน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดการติดไฟได้ง่าย เป็นต้น
- ชุดสวมใส่ของพนักงงานไม่เป็นแต่เพียงเครื่องแต่งกาย แต่บ่งบอกถึงหน้าตาขององค์กรที่จะเป็นที่จดจำ ประทับใจให้แ่ผู้ได้พบเห็น
- รูปแบบของชุด ชนิดของผ้า และสี จะต้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงที่องค์กรนั้นๆจะได้รับ
- รูปแบบกระชับ เข้ารูปกับสรีระของผู้สวมใส่ เพื่อให้ผู้สวมใส่มีความมั่นใจว่าชุดที่เขาสวมใส่ไม่สร้างปัญหาให้ในขณะปฎิบัติงาน
- ข้อกำหนดของโรงงาน โรงงานกำหนดให้พนักงานสวมใส่ชุดแบบใดหรือไม่
โดยหลักแล้ว ชุดสวมใส่ทำงานในกลุ่มงานอุตสาหกรรม ควรมีลักษณะดังนี้
- ทนทาน สามารถทนต่อแรงเสียดสี แรงดึง แรงฉีกขาดได้ดี
- ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น เหนียวเหนอะหนะ หรือสร้างความหงุดหงิดให้กับผู้สวมใส่
- ป้องกันอันตรายจากสารเคมี ความร้อน ไฟฟ้า เป็นต้น
- สะท้อนแสงได้ มองเห็นได้ชัดเจนในที่มืด
- มีสีสันสะดุดตา มองเห็นได้ง่าย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
สำหรับประเภทของชุดสวมใส่ทำงานในกลุ่มงานอุตสาหกรรม มีดังนี้
- ชุดยูนิฟอร์ม เป็นชุดที่พนักงานทุกคนต้องสวมใส่เหมือนกัน โดยโรงงานจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบและสีของชุด
- เป็นชุดที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานเฉพาะประเภท เช่น ชุดทำงานช่างเชื่อม ชุดทำงานช่างไฟฟ้า ชุดทำงานที่อาจเสี่ยงจะติดไฟ เป็นต้น
- ชุดเครื่องแบบ เป็นชุดที่พนักงานสวมใส่เพื่อแสดงถึงสถานะหรือตำแหน่ง เช่น ชุดพนักงานต้อนรับ ชุดพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
การเลือกชุดสวมใส่ทำงานในกลุ่มงานอุตสาหกรรมนั้น ควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงาน